โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก : Khlong Tha Dan Dam

 "...โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้ อีก 5-6 ปีข้างหน้า เราสบาย แต่ถ้าไม่ทำ อีก 5-6 ปีข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้าง ค่าดำเนินการก็จะสูงขึ้น 2 เท่า 3 เท่า ลงท้ายก็จะประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไป ก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วก็จะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้..."

    "...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..."

    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 17 มีนาคม พ.ศ.2529
 

 
    โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคในช่วงหน้าแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ทำให้พื้นที่โดยรอบชุ่มน้ำ ประชาชนมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาชีพมากขึ้น หล่อเลี้ยงชุมชนทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ปากพลี องครักษ์ และบ้านนา ให้อุดมสมบูรณ์มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี อีกทั้งพื้นที่โดยรอบได้ปรับปรุงสถานที่ให้สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน และที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย

    โครงการนี้ คือสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียง สำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้

    การก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เขื่อนคลองท่าด่าน ฯ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2545 ซึ่งชาวนครนายกและหน่วยราชการทุกหมู่เหล่าล้วนซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในการเสด็จพระราชดำเนินมาในครั้งนี้

  

    โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน คือ แนวทางการส่งเสริม และช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหรือเป็นหัวใจ ของกรม ส่งเสริมการเกษตร ที่มุ่งมั่น ช่วยเหลือเกษตรกร ทุกระดับชั้น จากต้นกำเนิด ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นพื้น ที่ลุ่มน้ำ นครนายก 2,4333 ตร.กม. กลายเป็นสายน้ำที่เป็นเส้น เลือดหล่อเลี้ยง พื้นที่ในเขต อำเภอเมืองนครนายก, อำเภอบ้านนา, อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ติดต่อพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ซึ่งแม่น้ำนครนายกไหลบรรจบกับแม่น้ำปราจีน กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย

    ด้วยลักษณะภูมิประเทศบริเวณลุ่มน้ำเป็นหุบเขาแคบๆ และพื้นที่สูงชันประกอบกับมีผิวดินตื้น และลาดเทมาก ระดับน้ำใต้ดินมีน้อยมาก เป็นเหตุให้เกิดน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรงในช่วงฤดูฝน และน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ราบเป็นเวลานาน ซ้ำยังมีปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ด้วยพระเมตตาที่ทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้วยพระองค์เองทรงรับทราบปัญหา และดำริว่าการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจะช่วยผ่อนทุกข์หนักให้เป็นเบา ระบบชลประทานจะช่วยควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลท่วมผืนดินและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง รวมทั้งลดปัญหาดินเปรี้ยวเมื่อผืนดินกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ จะเพาะปลูกอะไรก็ย่อมได้ ชาวบ้านจะมีกินมีใช้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    สำหรับผลดีที่จะได้จากเขื่อนคลองท่าด่านนั้น ประการแรกคือ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดนครนายก น้ำท่วมที่เคยสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล ในแต่ละปีจะลดลงร้อยละ 35 ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้กิจกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากสถานการณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และทำการประมงที่ซบเซา อ่างเก็บน้ำเขื่อน คลองท่าด่านจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาทำการประมงกันมากขึ้น ผลผลิตปลาจะสูงถึงปีละ 58 ตัน นับว่าเพิ่มมากกว่าก่อนมีเขื่อนหลายเท่า ไม่เพียงเท่านี้เขื่อนคลองท่าด่านยังสามารถส่งน้ำ เพื่อการ อุปโภคบริโภคปีละ 16 ล้าน ลบ.ม. ให้กับพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ของ ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ปากพลี องครักษ์ และอำเภอบ้านนา

  

    นอกจากการมีน้ำชลประทานจะช่วยชะล้างหน้าดินเปรี้ยวให้มีสภาพความเป็นกรดลงลง และช่วยเพิ่มผลผลิตในเขตพื้นที่ชลประทานแล้ว การก่อสร้าง เขื่อนคลองท่าด่าน ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางอ้อมอื่น ๆ ตามมา เช่น ทัศนียภาพ และสิ่งแวดล้อม บริเวณตัวเขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ต่อไปในอนาคต

สถานที่ตั้งเขื่อนขุนด่านปราการชล :

เขื่อนขุนด่านปราการชล ตู้ ปณ. 4 ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000

การเดินทางไปเขื่อนขุนด่านปราการชล :

1. โดยรถยนต์ จากกรุงเทพกรุงเทพมหานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 หรือ 33 – นครนายก – (น้ำตกนางรองใช้ถนนหมายเลข 3049) – ผ่านอุทยานวังตะไคร้ – เลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ตัวเขื่อนขุนด่านฯ

2. รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพกรุงเทพมหานคร – นครนายก มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ โดยออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) ทุกวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-9363660, 02-9363666

    นอกจากจะได้เที่ยวชมบรรกาศและทัศนียภาพบนเขื่อนขุนด่านปราการชลแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถที่จะเลือกเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของนครนายกได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุทยานพระพิฆเนศ, วัดพราหมณี (หลวงพ่อปากแดง), พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน, น้ำตกวังตะไคร้, น้ำตกสาริกา, วัดสีชมพู, น้ำตกนางรอง หรือจะเข้าร่วมกิจกรรมสุดสนุก ตื่นเต้นและผจญภัยไปกับกิจกรรมล่องแก่งหินเพิง

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ รวม 185,000 ไร่ เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5,400 ครัวเรือน

2. ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 16 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีให้กับพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ของ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ปากพลี องครักษ์ และอำเภอบ้านนา

3. ส่งผลให้กิจกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมงเพิ่มขึ้น มีผลผลิตสูงถึงปีละ 58 ตัน


4. บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว

5. ลดความเสียหายจากอุทกภัย ได้ร้อยละ 35

อ้างอิง :